อสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะใช้ประโยชน์เพื่ออยู่อาศัย หรือ ประกอบธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ควรจะมีเพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน คือ ประกันอัคคีภัย ต้องยอมรับว่าปัจจุบันสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทยยังมีการทำประกันอัคคีภัยน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณสิ่งปลูกสร้างที่มีเพิ่มขึ้นตลอดเวลา รวมถึงผู้ที่ได้ทำประกันอัคคีภัยไว้ แต่ไม่รู้เลยว่าแท้ที่จริงแล้ว ประกันที่ทำไว้นั้นได้ทำถูกต้องตามความจำเป็นที่แท้จริงหรือไม่
หากว่าประกันอัคคีภัยที่มีอยู่นั้น ไม่ครอบคลุม หรือครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ควรจะเป็นแล้ว ผลเสียก็จะตกอยู่กับเจ้าของสิ่งปลูกสร้างนั้น เงินทำประกันก็ต้องจ่ายมิหนำซ้ำเคลมได้ไม่ครบถ้วนตามที่เสียหาย WE Digital Insurance Broker มีคำแนะนำในการทำประกันอัคคีภัย ทำอย่างไรให้ถูกต้อง ครบถ้วนและได้ประโยชน์ มาฝากกัน
กรณีสิ่งปลูกสร้างที่มีการขอสินเชื่อกับธนาคาร โดยปกติทางธนาคารจะเสนอขายประกันควบคู่ด้วย เพียงแต่ตามสิทธิของธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ จะให้กำหนดทุนประกันที่คุ้มครองเพียงยอดสินเชื่อที่ขอเท่านั้น แต่อาจจะไม่ได้ครอบคลุมราคาแท้จริงของสิ่งปลูกสร้างก็เป็นได้ กฎเกณฑ์ของประกันอัคคีภัยจะระบุไว้ ต้องทำทุนประกันห้ามน้อยกว่า 70% ของราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง มิฉะนั้นเวลาเกิดความเสียหายขึ้นมา จะมีการเฉลี่ยค่าสินไหมตามทุนประกันที่ทำเอาไว้
ยกตัวอย่าง ซื้อบ้านในราคา 2 ล้านบาท แต่มีเงินส่วนตัว 1 ล้านบาท และขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารเพียง 1ล้านบาท ฉะนั้นแล้วธนาคารจะให้ทำประกันอัคคีภัยเพียง 1ล้านบาทเท่านั้น คิดเป็น 50%ของราคาบ้านที่ซื้อเท่านั้น จะต่ำกว่าที่กฎเกณฑ์กำหนดคือ “ห้ามต่ำกว่า 70%”
กรณีแบบนี้ เวลาเกิดความเสียหายมูลค่าเท่าไหร่ ประกันจะคุ้มครองเพียง 50% ตามเปอร์เซ็นต์ของความคุ้มครองที่ทำไว้ ดังนั้น เราจำเป็นที่จะต้องซื้อประกันอัคคีภัยเพิ่มเติม เพื่อให้มีความคุ้มครองตามราคาจริงของสิ่งปลูกสร้างของเรา
ส่วนเรื่องความคุ้มครองที่มีความหลากหลาย และมีหลายหมวดเงื่อนไข เราเองต้องพิจารณาความจำเป็น ว่ามีโอกาสมากน้อยเพียงใด ที่จะได้ใช้ความคุ้มครองลักษณะนั้นได้ ถ้าไม่มีความจำเป็นหรือไม่มีโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกทำ เพราะยิ่งมีหมวดความคุ้มครองมาก ก็ยิ่งทำให้เบี้ยประกันสูงตามไปด้วย อย่างเช่น เรามีคอนโด ซึ่งอยู่บนชั้นที่ 20 ประกันที่คุ้มครองเรื่องน้ำท่วม ก็อาจไม่จำเป็น เนื่องจากเราไม่มีโอกาสได้รับผลกระทบนี้
ลืมไม่ได้เลย...หากว่าวันที่เราผ่อนชำระสินเชื่อกับทางธนาคารหมดเรียบร้อยแล้ว อย่าลืม !!! ติดต่อบริษัทประกันที่ทำประกันอัคคีภัย เพื่อขอให้เปลี่ยนแปลงข้อมูล “ผู้รับประโยชน์” หากมีความเสียหายเกิดขึ้น เปลี่ยนจากธนาคารเจ้าหนี้ มาเป็น “ชื่อเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง”
สนใจผลิตภัณฑ์และบริการ จากกลุ่มธุรกิจการเงิน ดาโอ (ประเทศไทย) ให้เราเป็นเพื่อนคู่คิดทางการเงินของคุณ
ติดต่อ DAOL Contact Center 0 2351 1800 หรือ Facebook: www.facebook.com/WEinsuranceBroker สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันภัย
DAOL Contact Center Address เลขที่ 87/2 อาคารซีอาร์ซีทาวเวอร์ ชั้นที่ 18 ออลซีซั่นส์เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
©2025 บริษัท ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สงวนลิขสิทธิ์